Showing all 8 results

6 วิธีการเลือกหมอนข้าง ไอเทมคู่กาย ยามลูกน้อยหลับนอน 

            หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงใช้หมอนข้างทั่วไปเหมือนกับที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ไม่ได้ หรือบางคนก็อาจคิดว่าเด็กไม่มีความจำเป็นต้องใช้หมอนข้างเด็ก อันที่จริงแล้ว หมอนข้างเด็กเล็ก เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เด็ก ๆ นอนในท่าที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับที่ดียิ่งขึ้น และจะทำให้โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่งออกมาได้ดี นอกจากนี้ หมอนข้างที่มีลักษณะเหมาะสม ยังช่วยเรื่องของระบบทางเดินหายใจอีกด้วย เพราะหากหายใจไม่สะดวก ก็อาจทำให้เด็ก ๆ นอนหลับยากและนอนหลับได้ไม่สนิทตลอดทั้งคืน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้

วิธีการเลือกหมอนตามการใช้งาน

หมอนจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ หมอนหนุนและหมอนข้าง ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีการใช้งานและข้อดีที่แตกต่างกัน

  1. หมอนข้าง เหมาะสำหรับเด็กที่พลิกตัวบ่อย

หมอนข้าง เหมาะสำหรับเด็กที่นอนพลิกตัวบ่อยหรือนอนดิ้น เนื่องจากหมอนข้างทารกจะช่วยกันไม่ให้ตกจากเตียง หรือขยับไปไกลจนศีรษะตกหมอน และยังมีดีไซน์ที่น่ารัก นอกจากนี้ การนอนกอดหมอนข้างในท่าตะแคง ยังช่วยให้ระบบการหายใจคล่องตัวขึ้น และยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายจากการถูกกดทับอีกด้วย หมอนข้างเด็กทารกจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายยิ่งขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตาม หมอนข้างบางประเภทมีดีไซน์ที่ไม่สามารถใส่ปลอกหมอนได้ ซึ่งจะเกิดปัญหาเรื่องของสิ่งสกปรกและไรฝุ่นตามมา ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกแบบที่เราสามารถใส่ – ถอดปลอกหมอนออกมาทำความสะอาดได้

  1. หมอนหนุน รองรับท่านอนที่หลากหลาย

หมอนหนุน เป็นหมอนมาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วไปโดยการรองใต้ศีรษะ สามารถใช้หนุนได้กับท่านอนได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนอนหงาย, นอนตะแคง หรือพลิกตัวไปมาก็สามารถรองรับศีรษะและต้นคอได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะออกแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และอาจมีรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ เช่น รูปหัวใจและรูปสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ เราอาจเห็นหมอนที่มีหลุมตรงกลาง ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการตกหมอนโดยจะช่วยให้ศีรษะของเด็ก ๆ อยู่กับที่ถึงแม้ว่าจะนอนพลิกตัวไปมา

  1. เน้นวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี

หลังจากเลือกประเภทหมอนให้ตรงกับการใช้งานแล้ว สิ่งต่อไปที่ควรพิจารณา คือ ควรจะเลือกหมอนที่สามารถระบายอากาศได้ดีด้วย เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายที่สูงและอากาศที่ร้อน จะทำให้เด็ก ๆ นอนหลับได้ยากและไม่สบายตัว ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกวัสดุประเภทเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (Polyester Fiber) ที่นอกจากจะคืนตัวได้ดีแล้ว เส้นใยยังทำให้เกิดช่องว่างในหมอน ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีและป้องกันการอับชื้น

  1. เลือกขนาดที่ครอบคลุมความกว้างของไหล่

ขนาดของหมอนสำหรับเด็กที่ดีจะต้องมีความยาวครอบคลุมช่วงไหล่ คอ และศีรษะ เพื่อรองรับกระดูกสันหลังและไหล่ ไม่ควรเลือกหมอนที่ต่ำและสูงจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดคอ และอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระดูกคอและกระดูกสันหลังได้ ควรเลือกหมอนที่มีความสูงเล็กน้อยเพื่อรองรับส่วนเว้าของกระดูกคอ และทำให้หายใจสะดวกมากขึ้น

  1. เลือกหมอนที่ทำความสะอาดได้ง่าย

โดยปกติแล้วผิวเด็กจะมีลักษณะที่บอบบาง แต่พฤติกรรมของเด็กมักจะเล่นซนและเหงื่อออกได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจกับสุขอนามัยที่ดี ดังนั้นจึงควรเลือกหมอนเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (Polyester Fiber) ที่สามารถซักได้ง่ายโดยไม่เสียรูปทรง แถมยังแห้งไว จึงไม่ทำให้เกิดเชื้อราอีกด้วย หรืออาจเลือกใช้ปลอกหมอนที่ป้องกันไม่ให้ตัวหมอนสกปรก ซึ่งสามารถถอดออกมาซักทำความสะอาดได้อย่างสะดวก

  1. เลือกดีไซน์ที่น่ารัก

คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าหมอนใช้นอนหลับช่วงเวลากลางคืน จึงไม่ต้องใส่ใจกับดีไซน์ก็ได้ แต่อันที่จริงหมอนที่มีลวดลายน่ารักหรือรูปคาแรคเตอร์ที่เด็ก ๆ ชื่นชอบจะเป็นการช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยก่อนเข้านอน และอาจทำให้เด็ก ๆ อยากเข้านอนไว ๆ โดยไม่งอแงอีกด้วย

บทส่งท้าย

ดังนั้นการเลือกใช้หมอนข้างเด็กโดยเฉพาะ จะช่วยให้การนอนหลับของเด็กมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และยังส่งผลต่ออารมณ์และพัฒนาการของเด็ก ให้เขาได้เติบโตสมวัย เพราะการนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ต้องเสริมพัฒนาการให้ดี ซึ่งขณะนอนหลับสมองจะมีการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ที่เป็นฮอร์โมนสำคัญในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต หากเลือกหมอนไม่ดีอาจทำให้ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิท ซึ่งจะส่งผลต่ออารมณ์ที่ไม่สดใสและพัฒนาการที่ล่าช้าด้วย